เฮสเพอริดิน มหัศจรรย์แห่งผลส้ม ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)
          ผลไม้ตระกูลซิตรัส (Citrus Fruit) ถือเป็นหนึ่งในกลุ่มของผลไม้รสเปรี้ยวที่ใหญ่ที่สุดในโลก กว่า 30% ถูกนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์หลากหลายชนิด ในอุตสาหกรรมน้ำผลไม้ ประกอบด้วย ส้มสายพันธุ์ต่างๆ มะนาว ส้มโอ เกรปฟรุต ฯลฯ ซึ่งมีวิตามินและสารพฤกษเคมี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มฟลาโวนอยด์เป็นองค์ประกอบหลัก จัดเป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง เป็นแหล่งของวิตามินซี และยังอุดมไปด้วยใยอาหาร วิตามินและแร่ธาตุ เช่น โฟเลต วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 ไนอะซิน วิตามินบี 6 กรดแพนโทเทนิก โพแทสเซียม แคลเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม ทองแดง ฯลฯ และงานวิจัยก็พบว่าส่งผลดีต่อสุขภาพด้วย1

          สารสำคัญที่พบในผลไม้ตระกูลส้มตามธรรมชาติ อย่าง เฮสเพอริดิน (Hesperidin) ซึ่งเป็นสารชนิดหนึ่งในกลุ่มฟลาโวนอยด์ พบว่ามีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ และลดการอักเสบที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ เพิ่มภูมิคุ้มกัน รวมถึงอาจจะช่วยต่อต้านมะเร็งบางชนิดได้ อีกทั้งยังอาจจะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดและลดการเกิดโรคอ้วน2 ประชากรที่เป็นโรคอ้วนหรือภาวะน้ำหนักเกินทั่วโลกนั้น มีมากกว่า 30% ของประชากรทั้งหมด โดยโรคอ้วนเป็นภาวะที่ร่างกายได้รับพลังงานมากเกินไป ทำให้มีไขมันสะสมในร่างกายมากเกินไป โรคอ้วนทำให้เกิดภาวะการเผาผลาญในร่างกายผิดปกติ (Metabolic Syndrome) ซึ่งความอ้วนทำให้เกิดการอักเสบและก่อให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน และโรคมะเร็งบางชนิด องค์การอนามัยโลกรายงานว่า การเสียชีวิตและการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ถือเป็นสาเหตุการเสียชีวิตในอันดับต้นๆ ของประชากรโลก เกิดจากปัจจัยเสี่ยงหลายประการ เช่น วิถีชีวิตที่ไม่เหมาะสม พันธุกรรม รวมถึงปัจจัยที่มีผลมากที่สุด คือ เรื่องของการบริโภคอาหารที่ไม่มีคุณภาพ เช่น การบริโภคผักและผลไม้ที่น้อยเกินไป หรือบริโภคโซเดียม ไขมันรวม และน้ำตาลในปริมาณสูง จึงทำให้มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคอ้วนหรือน้ำหนักเกินได้3 การบริโภคผลไม้ที่มีเฮสเพอริดินเป็นองค์ประกอบ สามารถช่วยควบคุมไขมันเลือด ทำให้ปริมาณไตรกลีเซอไรด์ลดลง จึงลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด และช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ เนื่องจากจะช่วยชะลอการปลดปล่อยกลูโคสเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้การดูดซึมน้ำตาลมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น รวมถึงยังสามารถช่วยกระตุ้นการหลั่งของคอเลสซิสโตไคนิน (CCK) ซึ่งเป็นฮอร์โมนควบคุมความอยากอาหาร ทำให้ร่างกายอยากอาหารน้อยลง1

          วิตามินและแร่ธาตุยังคงเป็นสารสำคัญที่ร่างกายต้องการและยังช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันหรือแอนติบอดี้ เพื่อให้ร่างกายสามารถทำงานได้อย่างปกติ แต่สิ่งที่น่าสนใจ คือ ปริมาณเฮสเพอริดินตั้งแต่ 13.41 มก./100 มล. ถึง 43.71mg/100 มล. ถูกจัดว่าเป็นสารที่ช่วยเสริมสร้างสุขภาพและมีประโยชน์ทางด้านเภสัชวิทยา อาทิ เช่น  เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ สารยับยั้งไวรัส โดยจากงานวิจัย พบว่า เฮสเพอริดินช่วยลดการแพร่กระจายของไวรัส (โปรตีน SARS-COV-2) โดยมีศักยภาพในการปิดกั้นการจับกับโปรตีนในเซลล์ของกลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง และยับยั้งการจำลองแบบของไวรัส (Mpro) ในไวรัสโคโรนา (COVID-19)1 รวมถึงช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคต่างๆ และช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย4

          จากฐานข้อมูลบนเว็บไซต์ Phenol-Explorer ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับโพลีฟีนอลในอาหาร ได้ระบุถึงปริมาณเฮสเพอริดินในน้ำส้มที่แตกต่างกัน ตั้งแต่ 4-73 มก./100 มล. พบว่า บทบาทของเฮสเพอริดินจากน้ำส้มได้รับความสนใจในงานวิจัยอย่างมาก เนื่องจากคุณมีสมบัติต้านการอักเสบและยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ มีส่วนช่วยในการปรับการทำงานของเอนไซม์ที่สำคัญในเซลล์ ซึ่งขึ้นอยู่กับการดูดซึม และโครงสร้างเมทริกซ์ของอาหาร การบริโภคน้ำส้มซึ่งมีเฮสเพอริดินธรรมชาติ จึงสามารถช่วยลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับโรค NCDs และภาวะเรื้อรังได้3  จากข้อความข้างต้น จะเห็นได้ว่า น้ำส้มพร้อมดื่ม ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคยุคใหม่ได้อย่างลงตัว หากบริโภคในปริมาณที่เหมาะสม นอกจากจะมีปริมาณวิตามินซีสูงแล้ว ยังหาซื้อได้ง่ายและราคาไม่แพง ดังนั้นหากเราหันมาใส่ใจสุขภาพเลือกบริโภคแต่อาหารที่มีประโยชน์ก็สามารถมั่นใจได้ว่า ต้องส่งผลดีกับร่างกายอย่างแน่นอน

รองศาสตราจารย์ ดร.พัชราณี ภวัตกุล

ภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ซื้อเลย คลิก

หรือ หาซื้อได้ที่ 7-11 และ ร้านสะดวกซื้อชั้นนำใกล้บ้านคุณ

Reference

  1. Richa, R., Kohli, D., Vishwakarma, D., Mishra, A., Kabdal, B., Kothakota, A., Richa, S., Sirohi, R., Kumar, R. and Nai, B. (2023) Citrus fruit: Classification, value addition, nutritional and medicinal values and relation with pandemic and hidden hunger. Journal of Agriculture and Food Research. 14, 1-13.
  2. Xiong, H., Wang, J., Ran, Q., Lou, G., Peng, C., Gan, Q., Hu, J., Sun, J., Yao, R. and Huang, Q. (2019). Hesperidin: A Therapeutic Agent For Obesity. Drug Design Development and Therapy. 13, 3855-3866.
  3. Tadros, F.J. and Andrade, J.M. (2022). Impact of hesperidin in 100% orange juice on chronic disease biomarkers: A narrative systematic review and gap analysis. CRITICAL REVIEWS IN FOOD SCIENCE AND NUTRITION. 30, 8335–8354.
  4. Pyrzynska, K. (2022). Hesperidin: A Review on Extraction Methods, Stability and Biological Activities. Nutrients. 14, 1-11.